เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองถึงจุดเดือด เป็นเวลาเดียวกันกับที่ ทายาทรุ่นที่ 11 กิเฮย์ ฮามากุจิ ได้รับสืบทอดกิจการต่อมาจากรุ่นที่ 10 ในปี พ.ศ.2486
ท่ามกลางภาวะความยากลำบากและวุ่นวายของภาวะยุคหลังสงคราม รวมไปถึงการขาดแคลนวัตถุดิบ ยามาซ่ามีความพยายามอย่างมากในการเริ่มต้นบุกเบิกธุรกิจใหม่ๆ และยังพยายามรักษาคุณภาพดั้งเดิมของซีอิ๊วถั่วเหลืองยามาซ่าไว้ด้วย
ในปี พ.ศ.2526 ประธานคนปัจจุบัน ได้รับสืบทอดธุรกิจในฐานะทายาท กิเฮย์ ฮามากุชิ รุ่นที่ 12 และซีอิ๊วถั่วเหลืองยามาซ่าก็พัฒนาเป็นผู้ผลิตเครื่องปรุงรสอาหารและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมนอกเหนือไปจากการผลิตซีอิ๊วถั่วเหลือง และยังนำไปสู่การพัฒนาเป็นบริษัทระดับโลกเพื่อที่จะนำเสนอรสชาติของญี่ปุ่นให้เป็นที่รู้จักต่อชาวโลกอีกด้วย
ในปี พ.ศ.2498 อากิระ คุนินากะ (Akira Kuninaka) แห่งสถาบันวิจัยยามาซ่า ผู้ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์สูงเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์จุลินทรีย์ในซีอิ๊วถั่วเหลือง ได้ค้นพบว่าในกรดอิโนซิอิคทั้งหมด 5’-กรดอิโนซิอิคเป็นตัวแปรสำคัญของรสอุมามิซึ่งได้จากคัตสึโอะบุชิ (ปลาโอหมักตากแห้ง) เขาทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไปจนปี พ.ศ.2500 จึงค้นพบโปรตีนจุลินทรีย์ (microbial enzyme) ที่สามารถผลิต 5’-กรดอิโนซิอิค ด้วยการเปลี่ยนแปลง RNA ของยีสต์ และยังพบด้วยว่า 5’-กรดอิโนซิอิคที่ผลิตโดยใช้เอนไซม์ตัวเดียวกันก็คือสารประกอบอูมามิของเห็ดหอม (shitake mushroom) นั่นเอง อีกทั้งบริษัทยังประสบความสำเร็จในการผลิต 5’-กรดอิโนซิอิค และ5’-กรดกัวนาลิคด้วย ซึ่งส่วนประกอบทั้งหลายเหล่านี้ก่อให้เกิดการประสานกันของรสชาติ และการนำเอารสชาติอุมามิเหล่านี้ไปผสมรวมกับผงชูรส (Monosodium Glutamate)ที่สกัดได้จากสาหร่ายเคลป์ ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มรสชาติอุมามิขึ้นไปอีก โดยจากการค้นพบเหล่านี้ ส่งผลให้ อากิระ คุนินากะ (Akira Kuninaka) ได้รับรางวัลอิมพีเรียลอินเวนชั่นอวอร์ด (Imperial Invention Award) ในปี พ.ศ.2507
จากการค้นพบนี้ บริษัท ยามาซ่า ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ผงปรุงรสซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ ของอุมามิรวมกัน ในชื่อ “Yamasa Flave” และได้พัฒนารสชาติแปลกใหม่นี้ออกไปทุกมุมโลก รสชาติอุมามินั้นเดิมทีเคยเป็นของที่มีเพียงผู้เคยได้ลิ้มรสเท่านั้นจึงจะรู้จัก แต่ด้วยการทำงานอย่างทุ่มเทของนักวิจัยจากยามาซ่า ทำให้สามารถอธิบายรสชาตินี้ได้โดยทางวิทยาศาสตร์ นับเป็นก้าวสำคัญของโลกแห่งอาหาร
เทคโนโลยีของบริษัทซีอิ๊วถั่วเหลืองยามาซ่าก่อกำเนิดรสชาติอุมามิโดยการเปลี่ยนแปลงกรดนิวเคลอิค (Nucleic acid) และนำไปสู่เทคโนโลยีที่สร้างสารประกอบเกี่ยวกับกรดนิวเคลอิค (Nucleic acid)นี้ ซึ่งกรดนี้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการดำเนินกิจกรรมในชีวิต สารประกอบ DNA และ RNA ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญต่อการมีชีวิต ได้แยกออกไปเป็นหน่วยย่อยโดยการใช้เอนไซม์และปฏิกิริยาทางเอนไซม์ในขณะที่สารสังเคราะห์ทางเคมีและเทคโนโลยีชีวเคมีก็ก้าวหน้าขึ้นจนสามารถส่งสารประกอบเกี่ยวกับกรดนิวเคลอิคทุกชนิดออกสู่สายตาชาวโลกได้ สารประกอบเกี่ยวกับกรดนิวเคลอิคของบริษัทซีอิ๊วถั่วเหลืองยามาซ่าถูกนำไปใช้ในหลายๆ วงการ รวมไปถึงเป็นวัตถุดิบสำหรับด้านเภสัชกรรม อาหาร,ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเภสัชวินิจฉัยสำหรับใช้ในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ขณะนี้ สารประกอบเกี่ยวกับกรดนิวเคลอิคของบริษัทฯ ได้รับการยอมรับในระดับโลกสำหรับความสามารถทางด้านการผลิต เทคโนโลยีการผลิตและคุณภาพ
ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา เริ่มจากซีอิ๊วถั่วเหลืองไปจนถึงเภสัชกรรมเป็นผลงานที่ก่อกำเนิดมาจากความทุ่มเทของยามาซ่าในการลงทุนวิจัยด้านจุลินทรีย์ การลงทุนของยามาซ่าก่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งมีทั้งอาหารและยาซึ่งก่อกำเนิดจากพลังชีวิตจุลินทรีย์ จึงนับได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมแห่งชีวิตได้โดยแท้จริง
ซีอิ๊วถั่วเหลืองที่ผลิตโดยยามาซ่าในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น มีเพียงซีอิ๊วถั่วเหลือง โคอิคุชิ (Koikuchi : รสชาติเข้มข้น) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตามด้วยปัจจัยเสริมจากการฟื้นฟูด้านวัฒนธรรมอาหารและการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลังสงคราม ซีอิ๊วถั่วเหลืองซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงขณะนั้นก็ได้รับการพัฒนาไปด้วย เพื่อที่จะได้เห็นภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ซีอิ๊วถั่วเหลืองชนิดใหม่ ซึ่งประกอบไปด้วย ชินมิ (Shinmi : รสชาติใหม่) ซึ่งเป็นซีอิ๊วถั่วเหลืองที่อุดมไปด้วยการผสานรสชาติ อุมามิซึ่งค้นพบโดยยามาซ่า และยังมีซีอิ๊วถั่วเหลืองสำหรับซาชิมิ (Sashimi Soy Sauce) ซึ่งรวมเอาความหอมของซีอิ๊วถั่วเหลือง โคอิคุชิ (Koikuchi : รสชาติเข้มข้น) และรสชาติอุมามิของซีอิ๊วถั่วเหลืองตัวใหม่คือ ทามาริ (Tamari : ซีอิ๊วถั่วเหลืองสูตรเข้มข้น) เข้าด้วยกัน ในปี พ.ศ.2535 ยามาซ่าได้ก้าวนำไปอีกขั้นด้วยการผลิตผลิตภัณฑ์ซีอิ๊วถั่วเหลืองจาก “ถั่วเหลืองออร์แกนิคเต็มเมล็ดที่ผ่านการคัดสรรอย่างดี” ซึ่งใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ผ่านการปลูกและเก็บเกี่ยวแบบออร์แกนิคซึ่งในช่วงขณะนั้น การเก็บเกี่ยววัตถุดิบรวมไปถึงระบบการจัดการและการผลิตก็เต็มไปด้วยความท้าทายใหม่ ๆ
ไม่เพียงแต่ซีอิ๊วถั่วเหลืองเท่านั้น ในปี พ.ศ.2522 เมื่อผู้คนนิยมแสวงหาความธรรมดาและดั้งเดิม ยามาซ่าก็ได้ผลิตซอสสำหรับบะหมี่สำเร็จรูป ทสึยุ (Tsuyu) บรรจุขวดออกมา ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่รู้กันในวงการอุตสาหกรรมว่าเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้
ในปี พ.ศ.2540 เป็นสมัยที่ยังคงยึดถือว่าซอสทสึยุที่รับประทานกับบะหมี่ต้องใช้น้ำซุปจากปลาโอ (Katsuo dashi) เท่านั้น ยามาซ่าก็ประสบความสำเร็จในการแนะนำน้ำซุปจากสาหร่ายเคลป์ (Kelp Tsuyu) โดยการโฆษณาสินค้า
ยามาซ่าจึงประสบความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ด้วยความคิดต่างและไม่ยึดติดกับกรอบแนวคิดเดิมๆ
The Yamasa Factory in Oregon, U.S.A.
ซีอิ๊วถั่วเหลืองเป็นสิ่งที่สนับสนุนวัฒนธรรมอาหารของญี่ปุ่น เพราะเป็นสิ่งที่ใช้ในทุกขั้นตอนและทุกรูปแบบของการทำอาหาร และยังเป็นที่ชื่นชอบไปทั่วโลกไม่เพียงแต่เฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น
ซีอิ๊วถั่วเหลืองยามาซ่าประสบความสำเร็จในการสร้างโรงงานที่รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.2537 ณ ปัจจุบัน ซีอิ๊วถั่วเหลืองยามาซ่าที่ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้ส่งออกไปขายในอเมริกา แคนาดา เม็กซิโกและในหลาย ๆ ประเทศ
ซีอิ๊วถั่วเหลืองยามาซ่าได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม ISO 9001:2000 ซึ่งเป็นมาตรฐานรับรองคุณภาพระดับสากล และยังเพิ่มระดับความพยายามอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อที่จะสร้างระบบที่จะสามารถเอื้อต่อการผลิตที่สามารถไว้วางใจได้ ในฤดูใบไม้ร่วงปี พ.ศ.2545 บริษัทได้สร้างถังสำหรับเก็บซีอิ๊วถั่วเหลืองซึ่งสามารถเก็บได้ปริมาณมากและสามารถนำมาผลิตสินค้าได้หลายชนิด เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการที่หลากหลายขึ้นและนำไปสู่การผลิตอย่างไร้กังวล ถังเหล่านี้ผลิตจากซุปเปอร์สเตนเลส (Super stainless steel) ปลอดสนิมแม้เวลาผ่านไปหลายสิบปี และยิ่งไปกว่านั้นยังถูกสุขอนามัยอีกด้วย เนื่องจากอากาศจากภายนอกไม่สามารถผ่านเข้าไปในถังได้ ในระหว่างการหมักและผลิตซีอิ๊วถั่วเหลืองนี้จะไม่มีแอลกอฮอล์เกิดขึ้นเลย ดังนั้นระบบการผลิตนี้จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ที่ยามาซ่า เรายังคงพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะทำการผลิตที่ปลอดภัยและมั่นคง ในขณะที่ยังคงรักษาระดับคุณภาพไว้ดังเดิม