วิทยาการและอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม

ความสำเร็จอย่างงดงามของการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์กับอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม

ทะยานเข้าสู่การผลิตซีอิ๊วถั่วเหลืองแบบสมัยใหม่

ทะยานเข้าสู่การผลิตซีอิ๊วถั่วเหลืองแบบสมัยใหม่

ทะยานเข้าสู่การผลิตซีอิ๊วถั่วเหลืองแบบสมัยใหม่

เมื่อย่างเข้าสู่ยุคเมจิ ซีอิ๊วถั่วเหลืองได้กลายเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต้องมีสำหรับทุกบ้านในที่สุด และมีการบริโภคซีอิ๊วถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งส่งผลดีต่อการประหยัดแรงงานคนเป็นอย่างมาก
ในราวๆ ปี พ.ศ.2436 เมื่อโกโต หรือ กิเฮย์ ฮามากุจิ รุ่นที่ 10 ได้รับสืบทอดธุรกิจของตระกูล เขาก็ได้นำซีอิ๊วถั่วเหลืองยามาซ่าเข้าสู่เส้นทางแห่งความทันสมัย
โกโต ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นราชาแห่งซีอิ๊วถั่วเหลืองระดับโลก ได้ค้นคว้าและผสมผสานแนวคิดทางด้านอุตสาหกรรมเพื่อทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อจุลินทรีย์ในการทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในการผสานองค์ประกอบจากสินค้าเกษตรในการหมักและผลิตเป็นซีอิ๊วถั่วเหลือง
เขาได้ยึดถือเอามาตรฐานที่ กิเฮย์ ฮามากุจิ รุ่นที่ 1 ได้สร้างเอาไว้และในขณะเดียวกันก็ได้มีส่วนสำคัญในการพาบริษัทเข้าสู่ยุคแห่งการผลิตซีอิ๊วถั่วเหลืองที่มีความทันสมัย

การก่อตั้งศูนย์วิจัยซีอิ๊วถั่วเหลือง

A Soy Sauce Research Center

The Research Center Today

การสังเกตการณ์การผลิตซีอิ๊วถั่วเหลืองอย่างมีหลักเกณฑ์ที่ต้องใช้ทั้งความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ บริษัทยามาซ่าได้ก่อตั้งศูนย์วิจัยซีอิ๊วถั่วเหลืองขึ้นมาในยุคเมจิ ตั้งแต่นั้นมาศูนย์วิจัยซึ่งมีประวัติความเป็นมากว่าร้อยปีนี้ก็ได้มุ่งมั่นพยายามในการพัฒนา เชื้อรายามาซ่า (Yamasa Fungus) “โคจิ” (Koji) ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่ใช้ในการหมักซีอิ๊วถั่วเหลืองของยามาซ่าและเป็นตัวกำหนดรสชาติของซีอิ๊วถั่วเหลือง ยามาซ่า ศูนย์วิจัยนี้ยังได้ผลิตนักวิจัยชั้นยอด ซึ่งมีส่วนให้เกิดผลงานวิจัย การค้นพบใหม่ ๆ และนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยมออกมามากมาย
ปัจจุบันศูนย์วิจัยแห่งนี้ไม่เพียงแต่มีส่วนสำคัญต่อวงการการผลิตซีอิ๊วถั่วเหลืองเท่านั้น แต่ยังเข้าไปมีบทบาทสำคัญต่อโลกแห่งชีวเคมีอีกด้วย

ผู้จัดส่งซีอิ๊วถั่วเหลืองให้กับราชวงศ์รายแรกในภูมิภาคคันโต

ผู้จัดส่งซีอิ๊วถั่วเหลืองให้กับราชวงศ์รายแรกในภูมิภาคคันโต

ผู้จัดส่งซีอิ๊วถั่วเหลืองให้กับราชวงศ์รายแรกในภูมิภาคคันโต

คุณภาพของซีอิ๊วถั่วเหลืองยามาซ่าเป็นที่ยอมรับในปี พ.ศ.2438 และได้รับเลือกให้เป็นผู้จัดส่งซีอิ๊วถั่วเหลืองให้กับราชวงศ์โดยผ่านสำนักผู้ดูแลพระราชวัง (ปัจจุบันคือสำนักพระราชวัง) เป็นรายแรกของภูมิภาคคันโต

การใช้เครื่องจักรในการผลิตและอุปกรณ์ต่างๆ ในโรงงาน รวมถึงการเพิ่มผลผลิต

ในปี พ.ศ.2436 โกโตได้รับสืบทอดธุรกิจของตระกูล อัตราการผลิตของซีอิ๊วถั่วเหลืองยามาซ่า อยู่ที่ 720 กิโลลิตร (720,000 ลิตร)
ต่อมาการปรับปรุงโรงงาน อุปกรณ์ ร่วมกับการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย ตลอดจนถึงการควบรวมบริษัทและการร่วมมือกันผลิตกับโรงงานผู้ผลิตซีอิ๊วถั่วเหลืองในโชชิ และซีอิ๊วถั่วเหลืองยามะจู (Yamaju) ทำให้กำลังการผลิตซีอิ๊วถั่วเหลืองของยามาซ่าก็ได้ทวีขึ้นเป็น 30 เท่าใน 35 ปีหลังจากนั้น ซึ่งก็คือใน พ.ศ.2471 นั่นเอง

การก่อตั้งบริษัท

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2471 ชื่อของบริษัทก็ได้เปลี่ยนจาก ฮามากุจิ กิเฮย์ โชเต็น (Hamaguchi Gihei Shoten) เป็นยามาซ่า โชยุ จำกัด (Yamasa Shoyu Co.,Ltd.) เนื่องในโอกาสการปรับปรุงโครงสร้างหุ้นส่วนของบริษัท ในขณะที่บริษัทชั้นนำต่าง ๆ ในยุคสมัยนั้น นิยมที่จะเอาชื่อสถานที่ตั้งหรือชื่อเจ้าของมาตั้งเป็นชื่อบริษัท แต่ยามาซ่า กลับกล้าหาญที่จะนำชื่อเครื่องหมายการค้า(ผลิตภัณฑ์)ของตนมาตั้งเป็นชื่อบริษัท และยังคงเป็นชื่อที่ใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

ยุคสมัยของ กิเฮย์ ยามากุชิ รุ่นที่ 10

ยุคสมัยของ กิเฮย์ ยามากุชิ รุ่นที่ 10

ในปี พ.ศ.2436 โกโต ชายหนุ่มวัยปลายยี่สิบ ได้รับสืบทอดกิจการของตระกูล และพัฒนากิจการของยามาซ่าจนเจริญรุ่งเรืองมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2486 เป็นเวลา 50 ปี จึงวางมือ
หลังจากทายาทรุ่นที่ 10 เข้ารับสืบทอด เขายื่นข้อเสนอและซื้อกิจการซีอิ๊วถั่วเหลืองจากผู้ผลิตรายย่อยในท้องถิ่น และขยายเส้นทางการขายอย่างมหาศาลจากการโฆษณา ท่ามกลางความกังวลใจเกี่ยวกับสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น (Sino-Japanese War) จากนั้น กิจการซีอิ๊วถั่วเหลืองยังคงเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฮามากุจิ กิเฮย์ รุ่นที่10 ก็ได้สร้างร้านค้าหลักและศูนย์วิจัยขึ้นมาใหม่ และในทางตรงกันข้าม ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ระบบเศรษฐกิจถดถอยและถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยการปันส่วน ยามาซ่าก็ยังสามารถดำเนินการบริหารจัดการได้อย่างเข้มแข็ง

  • จากคิชูสู่โชชิ
  • เหตุการณ์ที่ได้รับการบันทึกในประวัติศาสตร์ “ไฟแห่งอินามูระ”
  • ความสำเร็จอย่างงดงามของการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์กับอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม
  • การสนับสนุนโลกแห่งการแพทย์